เฉลยปัญหาประจำเดือนมกราคม 2558

ปัญหาข้อที่ 1 :

คำถาม     :

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีพระชนมายุรวมได้กี่พรรษา

คำใบ้       : ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้จากหนังสือ “ม.อ.บนเส้นทางตามรอยพระบาท” หน้า 54

คำตอบ     :

37 พรรษา

เกร็ดความรู้

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงพระราชสมภพในวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ซึ่งนับตามปีปฏิทินปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2535 พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 ทรงมีพระชนม์มายุรวมได้ 37 พรรษาเศษ
ตลอดพระชนม์มายุอันสั้นของสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงพิสูจน์ความจริงที่ว่า ได้ทรงยึดปณิธานว่า “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” อยู่เป็นเนืองนิตย์ พระดำรัสและพระราโชวาทใดๆ ที่ประทานล้วนแสดงให้เห็นถึงพระอุปนิสัยอันกอปรด้วยจริยธรรมอันสูงส่ง พระหฤทัยอ่อนโยน ละเอียดรอบคอบ ทรงพระเมตตาห่วงใยประเทศชาติและพสกนิกรของพระองค์ ทรงเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์เพียบพร้อม สมควรที่ประชาราษฎร์ และข้าราชการทั่วไปจะยึดเป็นแบบฉบับ

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูล โดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ
เพื่อจะนำดับความร้อนใจ
น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล
พืชพรรณไม้ชื่นยืนยง

คำถาม       : อยากทราบว่า เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร

{audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song01-c.mp3{/audio}



คำใบ้          : เพลงนี้เป็นหนึ่งในบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช



คำตอบ     :

เพลง "สายฝน"

{audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song01-f.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เพลงสายฝน เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนนี้ มีลีลานุ่มนวลอ่อนหวาน บรรเลงครั้งแรกในงานรื่นเริงของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2489 จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยอีกเพลงหนึ่งถึงปัจจุบัน

จากหนังสือ “ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจแห่งปวงชน”
จัดพิมพ์โดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

เฉลยปัญหาประจำเดือนมีนาคม 2558

ปัญหาข้อที่ 1 :

คำถาม     :

อยากทราบว่าปี 2558 เป็นปีที่ ครบรอบกี่ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำใบ้       : วันที่ 12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้  “พระราชบัญติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์”  โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดมา คือ วันที่ 13 มีนาคม 2511 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย

คำตอบ     :

47 ปี

เกร็ดความรู้

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยภาคใต้ว่า “สงขลานครินทร์”

ต่อมา ในวันที่ 12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้  “พระราชบัญติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์”  โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดมา คือ วันที่ 13 มีนาคม 2511 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย

ดังนั้น วันที่ 13 มีนาคม 2558 จึงถือได้ว่าเป็นวันครบรอบ 47 ปีแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูล โดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

คำถาม       : ใครเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนปัจจุบัน


คำใบ้          : ดูจากภาพ จะทราบคำตอบ

คำตอบ     : ศาสตราจารย์ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

เกร็ดความรู้

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนที่ 6

ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านได้เริ่มเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 และต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม 2551 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


\

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญในการบริหารของสถาบันอุดมศึกษา คือ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ.2532-2538 และดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เมื่อปี พ.ศ.2541 นอกจากนี้แล้วท่านยังมีประสบการณ์ในการบริหารงานทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ซึ่งทำประโยชน์แก่ประเทศชาติอีกมากมาย อาทิเช่น เลขาธิการและนายกสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

 

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

เฉลยปัญหาประจำเดือนเมษายน 2558

ปัญหาข้อที่ 1 :
เรียบง่าย งดงาม และสูงส่ง
ทรงเป็น สายใจไทย ทุกแห่งหน
ทรงแบ่งเบา ราชภาระ นานา
ทรงเป็น ขวัญใจของประชาชน


คำถาม     :

อยากทราบว่า เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0458-c.mp3{/audio}

คำใบ้       : บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จัดทำขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558

คำตอบ     :

เจ้าฟ้าของคนเดินดิน

{audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0458.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 ทาง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำโครงการเพลงพิเศษ ในชื่อ “เจ้าฟ้าของคนเดินดิน” โดย นิติพงษ์ ห่อนาค เป็นผู้ประพันธ์ เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและเผยแพร่พระราชกรณียกิจของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ท่านมีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทยในทุกระดับชั้น ซึ่งการจัดทำครั้งนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจของดาราและศิลปินโดยไม่แบ่งค่ายและสังกัดเข้าร่วมร้องเพลง “เจ้าฟ้าของคนเดินดิน”

ขอขอบคุณ..บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูล โดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

 

คำถาม       : อยากทราบว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวนทั้งหมดกี่ครั้ง


คำใบ้          : เดินเข้าไปชมนิทรรศการเฉพาะกิจ เรื่องวันทรงดนตรี ที่ ม.อ. บริเวณลานชั้น 1 อาคารหอประวัติฯ ก็จะทราบคำตอบ

คำตอบ     : 3 ครั้ง 

เกร็ดความรู้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   เสด็จทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์   ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   วิทยาเขตหาดใหญ่
จำนวน 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 (5 มกราคม 2552)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้าสู่งานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ณ
ห้อง Convention Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี


รศ. ดร.บุญสม  ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กราบบังคมทูลเชิญทรงดนตรี และน้อมเกล้าฯ ถวายไซโลโฟน

ต่อจากนั้น  ทรงดนตรีร่วงกับวง The Old Man เป็นการส่วนพระองค์


ครั้งที่ 2 (2 ตุลาคม 2553)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงนำคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า
มหิดล ร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดถวาย ที่ห้อง  Convention Hall   ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปี

ทรงดนตรีร่วงกับวง The Old Man ซึ่งเป็นวงดนตรีของคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


 

ครั้งที่ 3 (16 มกราคม 2557)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่งานเลี้ยงถวายพระกระยาหารค่ำที่ห้อง Convention Hall
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยมี รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี รอเฝ้ารับเสด็จ


ทรงดนตรีร่วมกับวง The Old Man เป็นการส่วนพระองค์


ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

เฉลยปัญหาประจำเดือนพฤษภาคม 2558

ปัญหาข้อที่ 1 :
แดดรอนรอน เมื่อทินกรจะลับเหลี่ยมเมฆา
ทอแสงเรืองอร่าม..ช่างงามตา
ในนภาสลับจับอัมพร


คำถาม     :

อยากทราบว่า เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0558-c.mp3{/audio}
คำใบ้       : เพลงนี้เป็นหนึ่งในบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

คำตอบ     :

เพลง "ยามเย็น"

{audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0558.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เพลง “ยามเย็น” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.2489 ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชา  
ธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แล้วพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ให้ นายเอื้อ สุนทรสนาน นำออกบรรเลงในงานสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2489 นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่นำออกบรรเลงสู่ประชาชน เป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยทันที

จากหนังสือ “ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจแห่งปวงชน”
จัดพิมพ์โดย..สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

 

คำถาม       : ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 32 ประจำปีการศึกษา 2545 สภามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ได้มีมติขอทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านใดและสาขาใด แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


คำใบ้          :

ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากหนังสือ “ครบรอบ 40 ปีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” หน้า 626


คำตอบ     : ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์)

เกร็ดความรู้

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 21 – 22 กันยายน 2546 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประจำปีการศึกษา 2545  ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติขอทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วย


(คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)

ต่อมาเมื่อวันที่  15 มิถุนายน 2547 ศาสตราจารย์ ดร.เกษม  สุวรรณกุล นายกสภามหาวิทยาลัย พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ชิตพงศ์ อธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

เฉลยปัญหาประจำเดือนมิถุนายน 2558

ปัญหาข้อที่ 1 :
พ่อเคยบอกไว้                จะทำเรื่องใดให้เสร็จดังฝัน
เส้นทางเหล่านั้น             ไม่เคยลาดโรยด้วยกลีบดอกไม้
แต่แก้วดวงหนึ่งช่างงาม   ยังมุ่งเดินตามรอยเท้าพ่อไป
ด้วยพลังที่ล้นดวงใจ        อันเปี่ยมศรัทธา


คำถาม     :

อยากทราบว่า เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0658-c.mp3{/audio}
คำใบ้       : เพลงนี้เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

คำตอบ     :
เพลง "นารีรัตนา" {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0658.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เพลง “นารีรัตนา” เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 รังสรรค์ผลงานโดยศิลปินและจิตอาสา ในโครงการปทุมมามหาสิกขาลัย วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร    และการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

 

คำถาม       : พระนามแฝง(นามปากกา) ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้ในหนังสือพระราชนิพนธ์
เรื่อง "ขบวนการนกกางเขน" ว่าอะไร


คำตอบ     : แว่นแก้ว

เกร็ดความรู้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดการอ่านและการเขียนหนังสือมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรองในพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ นอกจากใช้พระนาม “สิรินธร” แล้ว พระองค์ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนามได้แก่

“ก้อนหินก้อนกรวด” เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึงพระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็นก้อนหินหมายถึงพระองค์เอง ส่วนก้อนกรวดหมายถึงกุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เราตัวโต เลยใช้ว่าก้อนหิน หวานตัวเล็กเลยใช้ว่าก้อนกรวด รวมกันจึงเป็นก้อนหินก้อนกรวด” นามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียว ตอนประพันธ์บทความ “เรื่องจากเมืองอิสราเอล” เมื่อปี 2520

“แว่นแก้ว” เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “ชื่อแว่นแก้วนี้ตั้งเอง เพราะตอนเด็กๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ แว่นแก้ว” พระนามแฝงแว่นแก้วนี้ พระองค์ทรงเริ่มใช้เมื่อปี 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน

“หนูน้อย” พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า หนูน้อย” โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี 2523

“บันดาล” พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “ใช้ว่า บันดาล เพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง เลยใช้เป็นนามแฝง ไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย” ซึ่งพระองค์ทรงใช้ในงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ทรงทำให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2526

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

PSU Hall of History
15 Karnchanavanich Road,
Hat Yai, Songkhla 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ Email  : psuhistory@psu.ac.th

♦️ แผนที่ 
 Facebook

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน