เฉลยปัญหาประจำเดือนมิถุนายน 2558

ปัญหาข้อที่ 1 :
พ่อเคยบอกไว้                จะทำเรื่องใดให้เสร็จดังฝัน
เส้นทางเหล่านั้น             ไม่เคยลาดโรยด้วยกลีบดอกไม้
แต่แก้วดวงหนึ่งช่างงาม   ยังมุ่งเดินตามรอยเท้าพ่อไป
ด้วยพลังที่ล้นดวงใจ        อันเปี่ยมศรัทธา


คำถาม     :

อยากทราบว่า เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0658-c.mp3{/audio}
คำใบ้       : เพลงนี้เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

คำตอบ     :
เพลง "นารีรัตนา" {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song58/song0658.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เพลง “นารีรัตนา” เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 รังสรรค์ผลงานโดยศิลปินและจิตอาสา ในโครงการปทุมมามหาสิกขาลัย วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร    และการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

 

คำถาม       : พระนามแฝง(นามปากกา) ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้ในหนังสือพระราชนิพนธ์
เรื่อง "ขบวนการนกกางเขน" ว่าอะไร


คำตอบ     : แว่นแก้ว

เกร็ดความรู้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดการอ่านและการเขียนหนังสือมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรองในพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ นอกจากใช้พระนาม “สิรินธร” แล้ว พระองค์ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนามได้แก่

“ก้อนหินก้อนกรวด” เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึงพระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็นก้อนหินหมายถึงพระองค์เอง ส่วนก้อนกรวดหมายถึงกุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เราตัวโต เลยใช้ว่าก้อนหิน หวานตัวเล็กเลยใช้ว่าก้อนกรวด รวมกันจึงเป็นก้อนหินก้อนกรวด” นามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียว ตอนประพันธ์บทความ “เรื่องจากเมืองอิสราเอล” เมื่อปี 2520

“แว่นแก้ว” เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “ชื่อแว่นแก้วนี้ตั้งเอง เพราะตอนเด็กๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ แว่นแก้ว” พระนามแฝงแว่นแก้วนี้ พระองค์ทรงเริ่มใช้เมื่อปี 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน

“หนูน้อย” พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า หนูน้อย” โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง “ป๋องที่รัก” ตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี 2523

“บันดาล” พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า “ใช้ว่า บันดาล เพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง เลยใช้เป็นนามแฝง ไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย” ซึ่งพระองค์ทรงใช้ในงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ทรงทำให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2526

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

PSU Hall of History
15 Karnchanavanich Road,
Hat Yai, Songkhla 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ Email  : psuhistory@psu.ac.th

♦️ แผนที่ 
 Facebook

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน