เฉลยปัญหาประจำเดือน เมษายน 2551

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : “เขื่อนของเรานั้นงาม ทอดตามแนวฝั่ง              ดุจพลังสามัคคีเลือดสีบลู
มาเรามาร่วมช่วยกันเชิดชู ให้โลกรู้                     เราก็หนึ่งสถาบัน ”
   
  เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร และใครเป็นผู้ขับร้อง
   
คำตอบ      : ชื่อเพลง “ทะเลสีบลู” ขับร้องโดย “วินัย พันธุรักษ์”
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/song51/ทะเลสีบลู-เต็ม.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้


เทปเพลงชุด
มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง
          เพลง “ทะเลสีบลู” เป็น 1 ใน 10 เพลง ที่อยู่ในเทปเพลงมหาวิทยาลัยชุด “มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง”
          สำหรับผู้แต่งคำร้องและทำนองเพลงนี้ ที่ปกเทประบุไว้แต่เพียงสั้นๆ ว่า “อดีตนักศึกษา ม.อ.” แม้แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสาท มีแต้ม อดีตนายกสมาคมนักศึกษาเก่า ม.อ. ซึ่งเป็นผู้นำเอาเพลงนี้มาให้ผมไปดำเนินการจัดทำ ยังบอกได้แต่เพียงว่าผู้แต่งเป็นนักศึกษาคนหนึ่งเท่านั้น
          หากจะพิจารณาดูจากเนื้อเพลงเพลงนี้ จะเห็นว่ามีอยู่หลายตอนที่กล่าวถึงบรรยากาศของ ม.อ. ปัตตานี จึงน่าจะพอสันนิษฐานได้ว่า นักศึกษาที่แต่งเพลงนี้ น่าจะเป็นนักศึกษาจาก ม.อ. ปัตตานี มากกว่าแห่งอื่น

“โอ้ทะเลของเราสวยพราวดูเด่น       คลื่นกระเซ็นซัดครืนช่างซึ้งใจ
ยามตะวันจวนดับลับไป                       ทิวสนไหวเอนลมลู่คู่กับทะเล”

              เมื่อผมนำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียง “ศรีสยาม” ดินแดง กรุงเทพฯ ผมได้กำหนดให้ คุณวินัย พันธุรักษ์1 เป็นผู้ขับร้องเพลงนี้ เพราะคิดว่าเพลงแนวนี้คุณวินัยน่าจะถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้ดีกว่านักร้องท่านอื่น ซึ่งเมื่อเพลงนี้บันทึกเสียงเสร็จเรียบร้อย ก็เป็นดังที่ผมได้คาดไว้
              สำหรับความสามารถพิเศษของคุณวินัยที่ต่างกับนักร้องท่านอื่นที่ผมประทับใจก็คือ ความสามารถในการต่อเพลงที่ไม่เคยร้องมาก่อน อย่างเพลงทะเลสีบลูนี้ คุณวินัยใช้เวลาในการซ้อมไม่นาน เพียงแค่ 2-3 รอบเท่านั้น ก็สามารถเข้าห้องอัดเสียงร้องจริงได้ทันที ทั้งนี้ นอกจากคุณวินัยจะเป็นนักร้องแล้ว ยังมีความสามารถในการเล่นดนตรี จึงทำให้เข้าใจจังหวะจะโคนในการร้องได้เป็นอย่างดี

บรรยากาศในห้องบันทึกเสียง “ศรีสยาม” เดือนมีนาคม
พ.ศ. 2527 จากซ้าย : อ.มนัส กันตวิรุฒ, คุณวินัย พันธุรักษ์
และคุณพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์2 (ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน)

               เพลงนี้ได้ถูกนำมารวมไว้อีกครั้งหนึ่งในเทปและซีดีเพลงชุด “ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” ซึ่งจัดทำขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2544

1. วินัย พันธุรักษ์
               หนึ่งในสมาชิกวง “ดิอิมพอสซิเบิ้ล” วงสตริงชื่อดัง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมาย อาทิ คอยน้อง ไหนว่าจะจำ รักโลเล สิ้นกลิ่นดิน ชู้ทางใจ ชำมะเลียง สิ้นหวัง แม่ยอดรัก ว.ค.รอรัก ความรักเพรียกหา ฯลฯ (ภาพจาก http://beer87.multiply.com/photos/album/41
2. พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
               ครูเพลง นักเรียบเรียงเสียงประสานชื่อดัง เจ้าของผลงานเพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และรางวัลเสาอากาศทองคำมากมาย อาทิ เพลง “ไทยธำรงไทย” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2514
              เพลง “น้ำตาหรือจะแก้ปัญหาใจ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2518    
              เพลง “ตะแลงแกงแทงใจ”            ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2520
              เพลง “พะวงรัก”                      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2521
              เพลง “สุดเหงา”                      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2525

ถ่ายทอดข้อมูลโดย อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม     : สถานที่ 2 แห่งในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ได้แก่
   
คำตอบ     : ค) วิทยาเขตหาดใหญ่ กับ วิทยาเขตภูเก็ต
   

เกร็ดความรู้

ต้นศรีตรัง ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกที่...วิทยาเขตหาดใหญ่

               เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในวโรกาสนี้ ได้ทรงเปิด “พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี” จัดสร้างโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้ และเป็นแหล่งวิจัยด้านธรรมชาติศึกษาแก่นักวิจัย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งแรกและแห่งเดียวของภาคใต้ และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์พืชนานาชนิด

 

               ในการเสด็จครั้งนี้ ได้ทรงปลูก “ต้นศรีตรัง” ที่บริเวณด้านหน้าอาคาร “พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี” เพื่อเป็นเกียรติและศิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย

เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูลโดย..พรรณี สอาดฤทธิ์ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี
เรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ


ต้นศรีตรัง ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกที่...วิทยาเขตภูเก็ต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นศรีตรังที่วิทยาเขตภูเก็ต 2 แห่งด้วยกันคือ

               ครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2531 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ณ ศูนย์สะพานหิน ซึ่งสมัยนั้นเป็นที่ทำการของมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

 

               ครั้งที่สอง ทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ ณ บริเวณหน้าอาคาร 3 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยทรงเป็นองค์ประธานเปิดงาน ม.อ. วิชาการ ประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548

 

เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูลโดย..จารุพรรณ สองแก้ว และ วิลาวรรณ รัตนการ งานประชาสัมพันธ์ ม.อ. วิทยาเขตภูเก็ต
เรียบเรียงข้อมูลโดย...พามดา โสตถิพันธุ์

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน