เฉลยปัญหาประจำเดือน มกราคม 2554

ปัญหาข้อที่ 1 :
คำถาม      : “ได้ยินเสียงแว่ว ดังแผ่วมาแต่ไกลไกล
ชุ่มชื่นฤทัย หวานใดจะปาน
ฟังเสียงบรรเลง ขับเพลงประสาน
จากทิพย์วิมาน ประทานกล่อมใจ”

เพลงนี้ ชื่อเพลงอะไร
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/Jan11-cut.mp3{/audio}
คำใบ้         :
คำตอบ      : เพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง”
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/Jan11.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้


เพลง “ใกล้รุ่ง” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2489 ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทย โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงช่วย 

ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ขึ้น และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริ ทรงแก้ไข


หลังจากนั้น ทรงพระราชทานให้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ ปัจจุบัน) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489

(จากหนังสือ “ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจแห่งปวงชน” จัดทำโดย คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือรวมเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2539)

เพลง “ใกล้รุ่ง” ได้รับความอนุเคราะห์จาก...คุณอรุณรัตน์ แสงละออง
สถานีวิทยุ ม.อ. FM 88
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :
คำถาม : ในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย นอกจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะศึกษาศาสตร์ ได้ใช้อาคารของ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เดิม) มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบัน คือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นที่เรียนแล้ว ยังมีคณะอีกคณะหนึ่งที่ใช้อาคารดังกล่าวเป็นที่เรียนด้วย คณะนั้น คือ ...
ก) คณะวิทยาการจัดการ
ข) คณะแพทยศาสตร์
ค) คณะวิทยาศาสตร์
ง) คณะทรัพยากรธรรมชาติ
คำตอบ     : ค) คณะวิทยาศาสตร์

เกร็ดความรู้

ในปีการศึกษา 2510 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ในขณะนั้นยังใช้ชื่อ “มหาวิทยาลัยภาคใต้”) เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก จำนวน 50 คน
แต่การจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้น คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัย เห็นควรจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นด้วย เพื่อรับภาระสอนรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นการเตรียมรับการขยายงานเพื่อก่อตั้งคณะวิชาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในอนาคตด้วย ด้วยเหตุนี้ คณะวิทยาศาสตร์จึงได้รับการจัดตั้งพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510
ต่อมา ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “สงขลานครินทร์”
หลังจากนั้น ในปีการศึกษา 2511 ซึ่งเป็นปีถัดมา มหาวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์เป็นรุ่นแรก จำนวน 60 คน และในปีการศึกษา 2512 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 54 คน
นักศึกษาที่รับเข้าศึกษาทั้ง 3 คณะ ได้อาศัยใช้ห้องปาฐกถา ที่อาคารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เดิม) ข้างโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นสถานที่เรียนวิชาบรรยาย

อาคารคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เดิม)
ข้างโรงพยาบาลสงฆ์ ถนนศรีอยุธยา

ส่วนการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ได้ตามไปใช้ที่อาคารคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์หลังใหม่ ตรงข้ามกรมทรัพยากรธรณี ถนนพระราม 6 ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2511

อาคารคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์หลังใหม่
ตรงข้ามกรมทรัพยากรธรณี ถนนพระราม 6

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2515 คณาจารย์พร้อมทั้งนักศึกษา ชั้นปีที่ 2, 3, 4 ของคณะวิทยาศาสตร์ (รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดี) ซึ่งเป็นบุคลากรและนักศึกษาชุดสุดท้ายที่ประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ ก็ย้ายลงสู่ภาคใต้มาประจำที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร อำเภอหาดใหญ่เป็นการถาวร จึงถือว่าเป็นการสิ้นสุดที่ทำการชั่วคราวที่กรุงเทพฯ


ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ

 

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน