เฉลยปัญหาประจำเดือน มิถุนายน 2550

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : “ฟ้าดิน ถิ่นไกลใครจะมา      สู่แดนสงขลานครินทร์นี้
เห็นแต่น้องแลตาพี่            แล้วมองไปที่...ดอกศรีตรัง”
   
คำตอบ      : ชื่อเพลง “สงขลานครินทร์” ขับร้องโดย คุณวินัย จุลละบุษปะ
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/song50/สงขลานครินทร์-เต็ม.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

               เพลง “สงขลานครินทร์” เป็นเพลงที่มีความไพเราะ และมีเนื้อหาสะท้อนภาพวิถีชีวิตของคน ม.อ. ในยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเป็น 1 ใน 4 เพลงที่วงดนตรีสุนทราภรณ์ได้แต่งให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อีก 3 เพลง คือ เขตรั้วสีบลู, ถิ่นศรีตรัง และ รำวงน้องก็อีกราย) เพลงทั้ง 4 เพลง ทำในรูปแบบเพลงบอลรูม ซึ่งใช้จังหวะยอดนิยม อาทิ จังหวะวอลซ์ ตลุงเท็มโป้ และ แทงโก้ เพื่อประกอบการลีลาศในยุคนั้น เพลงชุดนี้นับว่าเป็นเพลงสถาบันชุดแรกของมหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นยุคเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ผู้ดำเนินการจัดทำ คือสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีคุณสมชัย โภชนจันทร์ เป็นนายกสโมสรฯ เพลงเหล่านี้บันทึกเป็นแผ่นเสียงขนาดเล็ก หน้าละ 1 เพลง ระบบ Mono ความเร็ว 45 RPM จำนวน 2 แผ่น จำหน่ายในราคาแผ่นละ 30 บาท
แผ่นเสียงเพลง “สงขลานครินทร์”
ความเร็ว 45 RPM  

เทปเพลงชุด
“มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง”  
               ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ผศ. ประสาท มีแต้ม นายกสมาคมนักศึกษาเก่า ม.อ. ได้ดำริจะจัดทำเพลงมหาวิทยาลัยขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้ขอให้อาจารย์มนัส กันตวิรุฒ นายกสโมสรอาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในสมัยนั้น เป็นผู้ประสานงานการจัดทำ ซึ่งได้รวบรวมเพลงต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ ม.อ. และยังไม่เคยมีการบันทึกเสียงมาก่อน เพลงเหล่านี้แต่งโดยนักศึกษาเก่าและอาจารย์จากวิทยาเขตปัตตานี อาทิ รศ.วันเนาว์ – ผศ.มะเนาะ ยูเด็น และอาจารย์ปราโมทย์ กระมุท โดยมอบให้คุณพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ นักเรียบเรียงเสียงประสานแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน นอกจากนั้น ยังได้มีการนำเอาเพลงทั้ง 4 เพลงที่วงสุนทราภรณ์แต่งให้ มารวมไว้ในชุด “มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง” จัดทำในรูปแบบเทปคาสเซ็ทจำนวน 2,000 ม้วน จำหน่ายในราคาม้วนละ 100 บาท บันทึกเสียงเมื่อเดือนมีนาคม 2527 ณ ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม ดินแดง กทม.
                ในปี 2544 ได้มีการจัดทำเพลงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 35 ปี คณะวิทยาศาสตร์ ใช้ชื่อชุดว่า “ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระบรมราชชนก” โดยคณะวิทยาศาสตร์ ได้มอบให้อาจารย์มนัส กันตวิรุฒ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นผู้ประสานงานการจัดทำ การจัดทำครั้งนี้ได้นำเพลงที่แต่งเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ ตลอดจนเพลงที่บันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2527 รวมทั้งได้นำเอาเพลง 4 เพลงที่วงสุนทราภรณ์แต่งให้มารวมไว้ด้วยกัน เพลงชุดนี้จัดทำในรูปแบบซีดีตลับคู่ (2 แผ่นใน 1 ตลับ) ราคาจำหน่าย 350 บาท และ เทปคาสเซ็ท 1 ชุด (2 ม้วน) ราคาจำหน่าย 200 บาท จัดทำขึ้นอย่างละ 2,000 ชุด บันทึกเสียงเมื่อเดือนมีนาคม 2544 ที่เจ้าพระยาสตูดิโอ ถนนอรุณอัมรินทร์ กทม.
เทปซีดีเพลงมหาวิทยาลัย ชุด
"ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก"
จัดทำเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี
แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ 
              อนึ่ง ใคร่ขอบันทึกไว้เป็นพิเศษในที่นี้ ก็คือ ในการจัดทำครั้งล่าสุด (ปี 2544) คุณพูลสุข สุริยะพงษ์รังสี หัวหน้าวงสุนทราภรณ์คนปัจจุบัน ได้ให้ความอนุเคราะห์โดยนำเพลง “สงขลานครินทร์” “เขตรั้วสีบลู” “ถิ่นศรีตรัง” และ “รำวงน้องก็อีกราย” ซึ่งวงดนตรีสุนทราภรณ์บันทึกไว้เดิมในระบบ Mono มาดำเนินการเสริมดนตรีใหม่ให้เป็นระบบ Stereo รวมทั้งแต่งเสียงให้สมบูรณ์โดยใช้เสียงร้องเดิม
คุณพูลสุข สุริยะพงษ์รังสี
หัวหน้าวงสุนทราภรณ์คนปัจจุบัน (ซ้าย)

               เพลง “สงขลานครินทร์” ผู้ประพันธ์คำร้อง คือ คุณศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ* ผู้ประพันธ์ทำนอง คือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน** ขับร้องโดย คุณวินัย จุลละบุษปะ***
               * ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ผู้ประพันธ์คำร้องอีกท่านหนึ่ง ที่อยู่เคียงคู่วงสุนทราภรณ์มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีผลงานที่เป็นอมตะมากมาย อาทิ แด่ที่รักใคร่ เพชรบุรีแดนใจ รำวงเริงสงกรานต์ ฯลฯ                                                              

               ** เอื้อ สุนทรสนาน อดีตหัวหน้าวงสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้องเพลงที่มีความไพเราะมากมาย อาทิ ขอให้เหมือนเดิม นางฟ้าจำแลง นวลปรางนางหมอง กังหันต้องลม ขอพบในฝัน ฯลฯ
ครูเอื้อ สุนทรสนาน อดีตหัวหน้าวงสุนทราภรณ์
(จากหน้าปกหนังสือที่ระลึก 30 ปี ของวงดนตรีสนุนทราภรณ์)

คุณวินัย จุลละบุษปะ
ผู้ขับร้องเพลง “สงขลานครินทร์”
*** วินัย จุลละบุษปะ นักร้องประจำวงสุนทราภรณ์ เจ้าของผลงานเพลงยอดนิยม อาทิ พรหมลิขิต ผู้ครองรัก ดาวล้อมเดือน แรกเจอ ฯลฯ

ถ่ายทอดข้อมูลโดย อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม     : บุคคลในภาพคือใคร ให้ระบุชื่อและนามสกุลอย่างชัดเจน
   
คำตอบ     : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์
   

เกร็ดความรู้


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์
อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนที่ 5 และ 7

วาระการดำรงตำแหน่ง (4 วาระ)
ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2518 – กรกฎาคม 2522 (2 วาระ ติดต่อกัน)
ครั้งที่ 2 มิถุนายน 2528 - พฤษภาคม 2524 (2 วาระ ติดต่อกัน)

ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษา ได้ปริญญา Ph.D.(Chemical Eng.) จาก Ohio State University

ตำแหน่งบริหารที่สำคัญ
- คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 เมษายน 2517 - 21 กรกฎาคม 2518
- อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา (2 วาระติดต่อกัน) วาระแรก 1 เมษายน 2437 – 31 มีนาคม 2541
วาระสอง 1 เมษายน 2541 – 31 มีนาคม 2545

ผลงานเมื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (4 วาระ)
- มีส่วนร่วมจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี 2519
- จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (2518), คณะวิทยาการจัดการ (2519), คณะทรัพยากรธรรมชาติ (2520), คณะเภสัชศาสตร์ (2522), วิทยาลัยอิสลามศึกษา  (2532)และ สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง
- จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี
- หัวหน้าโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันขนาดเล็กอันเนื่องด้วยพระราชดำริ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและวางแผนการศึกษาข้อมูลและศักยภาพลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
- หัวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงการพัฒนาพรุควนเคร็ง
- หัวหน้าโครงการเผยแพร่ประชากรศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้
- จัดสร้างอาคารเย็นศิระ สำหรับผู้ป่วยและญาติ ณ วัดโคกนาว
- จัดสร้างพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ณ วิทยาเขตปัตตานี

ปริญญากิตติมศักดิ์
ได้รับพระราชทานปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ การบริหารการศึกษา เมื่อ 29 กันยายน 2538

ปัจจุบัน

อยู่ในสมณเพศ ฉายานาม ฐานวุฑโฒภิกขุ จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าพุทธพจน์หริภุญชัย จ.ลำพูน

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย อ.มนัส กันตวิรุฒ
ข้อมูลเพิ่มเติม โดย คุณเรณู ชมชาญ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน