รวมลิงค์ที่น่าสนใจ

 

เฉลยปัญหาประจำเดือน กันยายน 2553

ปัญหาข้อที่ 1 :
คำถาม  : วันสงขลานครินทร์ ตรงกับวันที่เท่าไร เดือนอะไร
คำใบ้     : ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากหนังสือ“ม.อ.ในปีที่ 40” หน้า 7
คำตอบ : วันที่ 22 กันยายน

เกร็ดความรู้


ในระยะเริ่มแรก มหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยภาคใต้” ต่อมา คณะกรรมการดำเนินงานก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้   โดยมี
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นประธาน เห็นว่าเพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นศูนย์รวมด้านจิตใจของประชาชนชาวไทย และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานชื่อให้แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่อว่า “สงขลานครินทร์” เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510



(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ขึ้น)


มหาวิทยาลัยจึงถือวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เป็นวันสำคัญของมหาวิทยาลัย คือ “วันสงขลานครินทร์”

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :
คำถาม : สะพานสหัสวรรษ อยู่ในวิทยาเขตใด
ก)วิทยาเขตหาดใหญ่
ข)วิทยาเขตภูเก็ต
ค)วิทยาเขตปัตตานี
ง)วิทยาเขตตรัง

คำตอบ : ค) วิทยาเขตปัตตานี

เกร็ดความรู้

ในวิทยาเขตปัตตานี มีคลองคลองหนึ่งเป็นคลองสายกลางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขุดขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างอาคารชุดแรกเพื่อให้เป็นจุดรับน้ำ กรณีที่มีฝนตกหนัก เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมและสามารถที่จะระบายลงทะเลต่อไป ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการดักน้ำทะเลตอนที่น้ำขึ้น-ลง ในช่วงก่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ๆ อีกด้วย
คลองแห่งนี้เป็นที่ภาคภูมิใจของชาว ม.อ. เพราะเป็นสถานที่เลี้ยงพันธุ์ปลาพระราชทานคือ ปลานิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับพระราชทานสายพันธุ์มาจากองค์จักรพรรดิ์ฮิโระฮิโตะ ขณะยังเป็นมกุฎราชกุมารของญี่ปุ่น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเพาะเลี้ยงเป็นอย่างดี และได้พระราชทานสายพันธุ์ดังกล่าวไปยังหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วย ซึ่งสายพันธุ์นี้ พระองค์ทรงมีความผูกพันมาก และได้มีพระราชดำรัสว่า  "พระองค์จะไม่เสวยปลานิลเป็นอาหารโดยเด็ดขาด เพราะทรงชุบเลี้ยงมาจนเปรียบเสมือนลูก"
ส่วนสะพานข้ามคลองได้สร้างขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและอาจารย์ที่ต้องเดินทางไปเรียนที่อาคาร 19 หรืออาคารเรียนรวม โดยที่ไม่ต้องอ้อมผ่านอาคารหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้ (อาคารเก่า) โดยสะพานนั้นจะเป็นสะพานไม้ สามารถขี่จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์สวนไปมาได้ แต่ส่วนใหญ่จะใช้เดินกับใช้จักรยานมากกว่า เนื่องจากในขณะนั้น นักศึกษาใช้จักรยานกันมาก
เมื่อสะพานไม้สร้างเสร็จในปี 2525 ซึ่งในปีดัเดียวกันนี้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงมีการเรียกชื่อสะพานดังกล่าวว่า “สะพาน 200 ปี” แม้ไม่มีการตั้งชื่อกันอย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่เรียกกันติดปากมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับได้มีการเรียกร้องให้สร้างสะพานข้ามคลองนี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่อาจมีเหตุบังเอิญบางอย่างที่ทำให้ไม่ได้จัดสร้างในขณะนั้น จนกระทั่งเมื่อสะพานสร้างเสร็จในปี 2525 จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่า สะพานนี้กว่าจะสร้างเสร็จคล้ายดังกับว่าต้องรอคอยมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ดังนั้นชื่อ “สะพาน 200 ปี” จึงเป็นชื่อที่สามารถตอบโจทย์ได้ลงตัวที่สุด

ต่อมา ประมาณปี 2542 – 2543 ได้มีการปรับปรุงและสร้างเขื่อน เพื่อป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของพื้นที่ริมคลอง จึงได้มีการสร้างสะพานใหม่เป็นคอนกรีตทดแทนสะพานไม้เดิม และใช้เป็นสะพานสำหรับการเดินเท่านั้น

ในช่วงที่มีการสร้างสะพานและปรับภูมิทัศน์แล้วเสร็จ ได้มีการจัดประกวดตั้งชื่อสะพานขึ้นมาใหม่ โดยชื่อที่ได้รับการคัดเลือกคือ สะพานสหัสวรรษ ซึ่งเป็นช่วงที่ย่างเข้าปี ค.ศ.2000 ในขณะที่สะพานสร้างเสร็จพอดี
เมื่อต้นปี 2552 ได้มีการปลูกต้นใบไม้สีทอง 50 ต้น ให้เป็นซุ้มหลังคาคลุมสะพานสหัสวรรษด้วย


ข้อมูลส่วนหนึ่งจากคำบอกเล่าของ...ผศ.นพดล ทิพยรัตน์ องผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อ “สะพาน 200 ปี” จาก...รศ. ดร.พันธ์ ทองชุมนุม
ศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี รหัส 24 และรองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต
ค้นคว้าเพิ่มเติมและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ

ผศ.กอบกาญจน์ ศรประสิทธ์

ผศ.กอบกาญจน์ ศรประสิทธ์
 
          ผศ.กอบกาญจน์ ศรประสิทธ์ จบจากมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ปี 2514 แล้วมาต่อมหาวิทยาลัยมหิดล แล้วจึงกลับมาทำงานที่วิทยาลัยพยาบาลสงขลาปี2516 ม.อ. รับนักศึกษารุ่นแรก ก็ย้ายมาอยูที่นี่ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการให้ อาจารย์ทองใบ ปุณยานันต์ ชีวิตในม.อ.อบอุ่น เวลาจะกินข้าวก็กินพร้อมกัน จะเดินตามหลังกัน เหมือนแม่ไก่กับลูกไก่ อาจารย์ทุกคณะรู้จักกันหมด มีความสุขที่ได้กลับบ้าน ทำงานมา 33 ปี ชีวิตเป็นสุขที่สุดคือการใช้ชีวิตที่นี่
          "ม.อ.เป็นบ้านที่มีความอบอุ่นมาก ได้เรียนรู้ได้ประสบการณ์ได้พัฒนาให้กล้าแกร่งเข้มแข็งอดทน ให้ความเอื้ออาทร ผิดกับปัจจุบันที่ต่างคนต่างอยู่ วัฒนธรรมเปลี่ยนทำงานหนักมากขึ้น เพราะจำนวนนักศึกษามาก ขึ้น เทคโนโลยีเข้ามาเราก็ต้องตามให้ทัน"

อาจารย์รัชมล คติการ

อาจารย์รัชมล คติการ
 
          อาจารย์รัชมล คติการ (อ.กองสิน คติการ) มาทำงาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516 “มาสมัครงานที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือหน้าโรงเรียนอำนวยศิลป์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้น ซึ่งกำลังมีแผนว่าจะมีคณะแพทยศาสตร์ มีภาควิชาโรงเรียนพยาบาล เมื่อทราบว่าโรงเรียนพยาบาล ม.อ.รับสมัครอาจารย์พยาบาล เป็นวันสุดท้ายของการรับสมัคร ก็ไปสมัคร ในช่วงนั้น ชื่อว่าหาดใหญ่ใครก็ไม่อยากมาทำงานเพราะกันดารและน่ากลัว เราไม่กลัวเพราะเป็นคนสงขลา แต่ไปเรียนเชียงใหม่ ที่เชียงใหม่มีโรงพยาบาลใหญ่ คิดว่าถ้ามาทำที่ ม.อ.จะทำ ให้ได้เหมือนกับที่เราเห็นมา
          "นักศึกษาของเราดี พยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ส่วนใหญ่เป็นศิษย์ที่คณะพยาบาล ม.อ. เป็นสิ่งที่พี่ภูมิใจ เด็กรุ่นใหม่มีความอดทนน้อยกว่ารุ่นเก่า อาจจะเป็นเพราะว่าสมัยนี้เด็กได้รับการดูแลประคบประหงมมาก”

ผศ.ยุพดี โสตถิพันธุ์

ผศ.ยุพดี โสตถิพันธุ์
 
          ผศ.ยุพดี โสตถิพันธุ์ “มาเริ่มงานที่นี่เมื่อมิถุนายน 2517 นักศึกษารุ่นแรก ค่อนข้างผูกพัน เขาต้องไปเรียนที่วิทยาลัยพยาบาล เวลาเขาไม่สบายใจเขาก็โทรหาอาจารย์ เราก็เป็นกันชนระหว่างเขากับวิทยาลัยพยาบาลที่มีระเบียบมาก เด็กเรามีความรู้สึกว่าเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยทำไมต้องไปอยู่ในระเบียบและจะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ อยากมีอิสระ มหาวิทยาลัยเป็นชีวิต เพราะเรามีความรู้สึกว่าที่นี่เหมือนบ้านผสมที่ทำงาน มีทุกอย่างอยู่ในมหาวิทยาลัย เราใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัยคุ้มค่ามาก รู้สึกว่ามหาวิทยาลัยมีบุญคุณมาก
          "ขอฝากว่าต้องรักคณะให้มากๆ มหาวิทยาลัย คณะ ก็มีบุญคุณกับเรา มหาวิทยาลัยให้ชีวิต ให้โอกาส ให้ความรู้ ปกป้องเรา ถ้าเราไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีใครเรียกเราว่าอาจารย์ และจะไม่มีคนรู้จักเรา"

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน